การรักษาโรคด้วยแม่เหล็ก PEMF (Pulsed Electromagnetic Field) เป็นวิธีการรักษาโรคที่ปลอดภัยและไม่ทำให้ร่างกายบอบช้ำ ด้วยการนำเอาแม่เหล็กที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ หรือสนามแม่เหล็กมาประยุกต์ใช้กับร่างกายมนุษย์ การใช้สนามแม่เหล็ก จะมีประสิทธิภาพในการเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตได้มากกว่าการใช้กระแสไฟฟ้า เพราะความยาวคลื่นจากแม่เหล็กจะกระจายแทรกซึ่มผ่านผิวหนังได้ง่ายกว่า และไหลเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านไขมัน ประสาท และกระดูกเข้าไปได้ การรักษาด้วยคลื่นแม่เหล็กจะช่วยฟื้นสภาพของโรค ทั้งชนิดที่เรื้อรัง และรุนแรงเฉียบพลัน
หลักการทำงานของ การรักษาโรคด้วยแม่เหล็ก PEMF คือ การส่งคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมาเพื่อใช้สำหรับกับการฟื้นฟูแต่ละส่วนของร่างกาย อย่างตรงจุดและหลากหลายรูปแบบคลื่น เข้าไปช่วยในการกระตุ้นร่างกายระดับเซลล์ ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบเผาผลาญ และดูดซึมพลังงาน ระบบซ่อมแซมตัวเองตามธรรมชาติ ทำงานในระดับที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
เนื่องจากระบบวงจรเลือด ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจนและสารอาหารต่างๆ ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย พร้อมทั้งนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และของเสียที่เกิดขึ้นกำจัดออกนอกร่างกาย แต่ถ้าหากระบบเลือดในร่างกายของเราเกิดมีปัญหาขึ้น เช่น เลือดข้น ซึ่งจะส่งผลทำให้เลือดหนืดไหลเวียนในหลอดเลือดได้ไม่สะดวก หรือหนืดคล้ายนมข้นหวาน สาเหตุดังกล่าวทำให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายเรานั้นได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ และสามารถนำมาซึ่งโรคร้ายแรงต่างๆ ได้อีกมากมาย
ยศการ คลินิก ช่วยตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของทุกท่าน โดยเฉพาะท่านที่มีปัญหา ปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเข่า ปวดตามตัว ด้วยนวัตกรรม การรักษาโรคด้วยแม่เหล็ก PEMF เพื่อช่วยปรับการไหลเวียนโลหิตและการทำงานของระบบภูมคุ้มกันให้ดีขึ้น เข้าไปช่วยในการกระตุ้นร่างกายระดับเซลล์ การซ่อมแซมของเซลล์ การฟื้นฟูสภาพร่างกายจากการบาดเจ็บได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย
การบำบัดฟื้นฟู การรักษาโรคด้วยแม่เหล็ก PEMF เป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่กลับให้ผลที่ชัดเจนในเวลาอันสั้น ซึ่งสามารถใช้กับคนได้ทุกเพศทุกวัย แต่จะเห็นผลชัดเจนมากกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีการเสื่อมของเซลล์จำนวนมากตลอดเวลา จนทำให้มีปัญหาทางร่างกายตามมา เช่น ปวดเมื่อย นอนไม่หลับ ตื่นบ่อย เลือดข้น เบาหวาน ไขมัน และอื่นๆ อีกมากมาย
นวัตกรรมการรักษาโรคด้วยแม่เหล็ก PEMF ที่ยศการ คลินิก แพทย์ผู้ชำนาญการจะพิจารณาให้การรักษา โดยปล่อยคลื่นจากแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อกระตุ้นสมรรถนะในการเยียวยารักษาตัวเองให้เกิดขึ้นภายในร่างกาย อาจไม่ได้ช่วยรักษาเองโดยตรง โดยจะสร้างสนามแม่เหล็กและส่งผลไปกระทบแก่เซลล์ที่มีชีวิตด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ซึ่งเซลล์จะสามารถดำรงอยู่ได้ในสภาพที่ดีที่สุด และทำงานในระดับที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
ซึ่งสามารถช่วยบำบัดและรักษาอาการของโรคต่างๆ ได้ดังนี้
โรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท เป็นโรคของความเสื่อมอย่างหนึ่ง ปกติแล้วหมอนรองกระดูกสันหลังมีลักษณะคล้าย โช๊คอัพอยู่ระหว่างกระดูกสันหลัง มีคุณสมบัติในการให้ความยืดหยุ่น รองรับแรงกระแทกที่เกิดจากการใช้งานกระดูกสันหลัง ในเวลาที่เคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเดินหรือกระโดด
ในวัยเด็กหรือยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว ภายในหมอนรองกระดูกสันหลังจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นส่วนสำคัญ พอนานวันระบบต่างๆ ของร่างกายเราก็เริ่มเสื่อม เปอร์เซ็นต์ของน้ำในหมอนรองกระดูกสันหลังก็จะลดลง ความยืดหยุ่นน้อยลง เมื่อหมอนรองกระดูกไปกดทับเส้นประสาทส่วนใด ก็จะมีอาการปวดแสดงออกมาตามแนวของเส้นประสาทนั้น
อาการอาจแสดงออกได้ทั้งบริเวณหลังและขา คนทั่วไปมักเข้าใจว่ามีเพียงอาการปวดหลังอย่างเดียว ที่จริงแล้วอาการที่ขานั้นสำคัญและจำเพาะเจาะจงกับโรคนี้มากกว่า นั่นแสดงถึงว่าเกิดการรบกวนเส้นประสาทสันหลังที่วิ่งไปเลี้ยงที่ขาแล้ว หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนออกมามักทำให้เกิดอาการแบบฉับพลันเพราะมีการอักเสบที่รุนแรง
อาการที่หลัง: ปวดหลัง บริเวณเอวส่วนล่าง อาจมีอาการที่หลังเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มักมีอาการในท่านั่ง หรือมีการนั่งงอตัวไปทางด้านหน้าซึ่งเป็นท่าที่หมอนรองกระดูกได้รับแรงกดทับมากที่สุด
อาการที่ขา: อาการแสดงที่ขามีได้ 3 แบบ คือ อาการปวด ชา หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการปวดหรือชาขาที่เกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมีลักษณะคือ มีอาการตามแนวที่เส้นประสาทวิ่งไป สามารถปวดได้ตั้งแต่บริเวณเอว ต้นขา น่อง ไปจนถึงบริเวณเท้าและนิ้วเท้าได้ การอ่อนแรงของกล้ามเนื้อก็มีลักษณะคล้ายอาการปวดและชา คือจะมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อมัดที่เลี้ยงด้วยเส้นประสาทเส้นที่ถูกกดทับนั้น
สาเหตุของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเหล่านี้ เช่น การยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้องบ่อยๆ น้ำหนักตัวที่มากเกินไป นั่งทำงานด้วยอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องนานๆ หรือบัติเหตุและการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง
อันตรายของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท
โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และอาการใจสั่น จากหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแข็งตัว หรือมีไขมันเกาะที่ผนังของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแดงตีบแคบลง ปริมาณเลือดแดงผ่านได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และหากหลอดเลือดตีบแคบลงจนอุดตันจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ โดยทั่วไปจะมีอาการ ใจสั่น เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก มีอาการคลื่นไส้ และอาจมีอาเจียน มีอาการเหงื่อออก เวียนศีรษะ
ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของการเกิด เช่น โรคความดันโลหิตและไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ โรคเบาหวาน ความอ้วน ความเครียด การไม่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ ในเพศชายอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือเพศหญิงอายุ 50 ปีขึ้นไปหรือวัยหลังหมดประจำเดือน และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจ และอาการใจสั่น
อันตรายของโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และอาการใจสั่น
ผลต่อเซลล์ : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะถูกส่งเข่าไปเหนี่ยวนำการจัดเรียงประจุที่ผนังเซลล์ (Cell Membrane Efficiency Improvement) ทำให้เซลล์สามารถรับน้ำ ออกซิเจน และสารอาหารได้มากกว่าที่เคยเป็น รวมถึงการเพิ่มอัตราการขับของเสียต่างๆ ออกจากเซลล์ทำให้เซลล์สมบูรณ์แข็งแรง
ผลต่อเม็ดเลือด: ลดความข้นหนืดของเลือดภายในเวลาไม่นาน ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงลำเลียงน้ำ ออกซิเจน และสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ ได้มากและง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อเลือดลำเลียงน้ำ ออกซิเจน และสารอาหารไปยังอวัยวะต่างได้มากขึ้น และเซลล์ของอวัยวะต่างๆ สามารถรับและนำไปใช้ได้มากขึ้น เซลล์ของอวัยวะนั้นก็แข็งแรงขึ้น และเมื่ออวัยวะแข็งแรงขึ้น ระบบต่างๆ ของร่ายกายก็ทำงานดีขึ้น และร่างกายก็จะดีขึ้นอย่างไม่มีข้อสงสัย