ผ่าตัดกล่องเสียง ทำเสียงแหลมให้ทุ้ม

เสียงและการนอนกรน

เสียงเป็นสัญลักษณ์ของแต่ละบุคคลแต่นั่นไม่ได้หมายความว่าเสียงทุกคนจะเข้ากับบุคลิกของผู้นั้นเสมอไปการผ่าตัดกล่องเสียงสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ นอกจากจะทำให้เสียงที่ดูใหญ่กลายเป็นหวานๆ ใสๆ ได้แล้ว ยังสามารถทำให้เสียงจากที่ดูเล็กไม่มีพลัง กลายมาเป็นหนาทุ้มหนักแน่นขึ้นมาได้เช่นเดียวกัน

หลักการของการเกิดเสียง

“เสียง” มีแหล่งกำเนิดมาจากเส้นเสียงและกล่องเสียงภายในลำคอ เมื่อเราพูดจะทำให้แหล่งกำเนิดเสียงเกิดการสั่นสะเทือนเส้นเสียงที่เล็กบาง และตึง จะสั่นเร็วทำให้เกิดเสียงสูง เสียงแหลม ตรงกันข้ามถ้าหากเส้นเสียงมีความอ้วนหนา และหย่อน ก็จะทำให้เสียงที่เปล่งออกมามีความทุ้ม

นี่คือเหตุผลว่าทำไมผู้หญิงกับผู้ชายจึงมีโทนเสียงที่ต่างกัน เพราะโครงสร้างกล่องเสียงของผู้หญิงจะเล็กเรียวและบางกว่าผู้ชาย ส่วนผู้ชายก็จะมีเส้นเสียงที่ใหญ่กว่า อย่างไรก็ตามอาจพบผู้ว่าผู้ชายบางคนมีเสียงเล็ก นั่นเป็นเพราะเกิดความผิดปกติของเส้นเสียงที่มีลักษณะเล็กคล้ายกับของผู้หญิงนั่นเอง

การผ่าตัดกล่องเสียงจากแหลมเล็กให้มาเป็นหนาทุ้ม สามารถทำได้ โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงสรีระของเส้นเสียงจากที่เล็ก เรียว บาง ก็เสริมให้เส้นเสียงใหญ่ หนา อ้วนขึ้นโดยการใช้กล้ามเนื้อข้างลำคอเข้าช่วย ก็จะทำให้เสียงทุ้มขึ้นหรืออาจจะใช้วิธีรัดสายเสียงโดยไม่ต้องผ่าตัด หรือใช้วิธีทำให้สายเสียงหย่อน แล้วแต่กรณี

ใครบ้างที่นิยมผ่าตัดกล่องเสียงจากแหลมให้เป็นทุ้ม

  • ผู้ที่ผ่าตัดแปลงเพศจากหญิงเป็นชายว่ากันด้วยเรื่องของเพศสภาพ ทอมหรือหญิงที่อยากเป็นชาย ก็คือคนที่มีสรีระที่เป็นผู้หญิง ถึงแม้บางคนจะมิจิตใจที่ห้าวหาญ หรืออาจจะเก่งกว่าผู้ชาย แต่โครงสร้างร่างกายและฮอร์โมนภายในก็ยังเป็นผู้หญิง ทอมหลายคนพยายามจะพูดกดเสียงทุ้มต่ำ แต่ถึงอย่างนั้นมันก็ทำได้เพียงชั่วคราว หรือบางครั้งพูดเสียงต่ำมากไปก็อาจจะคออักเสบเอาได้
  • ผู้ชายบางคนก็มีเสียงแหลมได้เช่นกัน ชายแท้ๆบางคนก็มีเสียงที่แหลมได้ นั่นเป็นเพราะสรีระกล่องเสียงและเส้นเสียง มีขนาดเล็กเรียวแหลมคล้ายกับผู้หญิง ทำให้เวลาพูดดูจะไม่ค่อยแมนสักเท่าไหร่ คนกลุ่มนี้จะนิยมผ่าตัดกล่องเสียง ทำให้เสียงทุ้มใหญ่ ฟังดูหนักแน่นทรงพลังขึ้น

การดูแลตัวเอง และข้อควรระวังหลังผ่าตัด

ในขั้นตอนการผ่าตัดกล่องเสียงใช้เวลาเพียงไม่กีชั่วโมง แต่หลังจากนั้นจะต้องรักษาตัวต่อเนื่องระยะยาว เพราะการดูแลตัวเองมีความสำคัญอย่างมากต่อผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นถาวร ถ้าหากแบ่งตามข่วงระยะเวลาการดูแลตัวเอง สามารถแบ่งความสำคัญได้เป็น 2 ช่วงดังนี้

หลังการผ่าตัด 1 เดือนแรก

  • หากอยู่ในช่วงที่ไม่สบายหรือเพิ่งหายจากอาการป่วยโดยเฉพาะเมื่อป่วยเป็นคออักเสบ ควรเว้นระยะให้หายสนิทค่อยทำการผ่าตัดกล่องเสียง
  • หากเป็นโรคประจำตัว มียาที่ต้องทานประจำหรือกำลังทานอาหารเสริม ควรบอกแพทย์ให้ทราบ เพราะยาบางชนิดอาจมีผลต่อการสลายตัวของเลือด
  • หลังผ่าตัด 1 สัปดาห์แรกงดใช้เสียงงดเปล่งเสียงโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นไปได้พยายามกลั้นการไอ จาม กระแอมเพื่อป้องกันให้กล่องเสียงกระทบกระเทือนน้อยที่สุด
  • งดเว้นการสูบบุหรี่ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด
  • เลี่ยงการทานอาหารรสจัด เผ็ดจัดเค็มจัด หวานจัด รวมทั้งอาหารกรอบๆ แข็งๆ เพื่อไม่ให้ระคายคอ และป้องกันภาวะกรดไหลย้อนขึ้นมารบกวนบริเวณสายเสียง

หลังการผ่าตัดหลังจาก1 เดือนแรก

  • แม้การผ่าตัดกล่องเสียงมาสักระยะแล้ว ผู้ป่วยยังต้องดูแลรักษาตัวเองอย่างต่อเนื่อง โดยยังต้องงดเว้นการดูดบุหรี่ หรือถ้าสามาถเลิกไปอย่างถาวรยิ่งดี เพราะบุหรี่ไม่เพียงทำให้แผลสมานช้า แต่คนที่ดูดบุหรี่เป็นประจำ ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง บางคนอาจจะต้องเจาะคอร่วมด้วย
  • เลี่ยงการตะเบ็ง กรีดร้อง หรือใช้เสียงต่อเนื่องนานมากเกินไป จนกว่าจะแน่ใจว่ากล้ามเนื้อและเนื้อเยื้อเกี่ยวพันภายในจะสมานกันอย่างดีแล้ว
  • ฝึกการออกเสียงใหม่ ฝึกพูด ฝึกการใช้โทนเสียงใหม่ ก็จะช่วยทำให้เสียงเข้าที่ได้เร็วขึ้น

ระยะเวลาในในการรักษาตัวกว่าเสียงจะเข้าที่นั้น อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งจะอยู่ราว ๆ 2-6 เดือน สิ่งสำคัญคือการเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้กระทบต่อเส้นเสียงและลำคอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด สำหรับการผ่าตัดกล่องเสียง ถือเป็นการศัลยกรรมที่มีความสำคัญต่อชีวิตเพราะถ้าเสียงเปลี่ยนแล้ว คือเปลี่ยนไปเลยตลอดกาล ผู้ที่ต้องการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง จะต้องศึกษาหาข้อมูลให้ดีที่สุด ตัดสินใจให้รอบคอบที่สุดด้วย