ตรวจสารพิษโลหะหนัก (Heavy metal testing)

สารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกายก่ออันตรายอะไรกับเราบ้าง

การใช้ชีวิตประจำวันของคนเราทุกวันนี้ มีความเสี่ยงต่อการรับเอาสารพิษโลหะหนักเข้ามาในร่างกายอยู่ตลอดเวลา ทั้งการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่ใกล้ชิดกับสารพิษ หรือการปนเปื้อนที่มากับชีวิตประจำวัน อย่างการรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ การใช้เครื่องสำอาง การสูดดม หรือแม้แต่การสัมผัสที่ผิวหนัง

ซึ่งปัญหาสารพิษตกค้างต่างๆ ที่ร่างกายของเรานี้ อาจจะได้รับเข้ามาโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะสารพิษโลหะหนัก เช่น สารตะกั่ว สารปรอท แคดเมียม สารหนู และอะลูมิเนียม เป็นต้น ซึ่งสารพิษดังกล่าว ร่างกายของเราอาจจะได้รับเข้ามาทีละเล็กทีละน้อย เมื่ออยู่ในระดับที่น้อยอาจจะไม่ส่งผลใดๆ กับร่างกาย แต่หากการสะสมของโลหะหนักมีมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ และอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ว่าจะเป็นหัวใจและหลอดเลือด สมอง ตับ ไต และต่อมไร้ท่อ ส่งผลให้ระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกายผิดปกติไป ความเป็นพิษของโลหะหนักขึ้นอยู่กับรูปแบบทางเคมีของสารประกอบของโลหะหนักแต่ละชนิด และเส้นทางที่ร่างกายได้รับเข้าไป เช่น ทางระบบหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ผิวหนัง เป็นต้น

อันตรายของสารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมในร่างกาย

การมีโลหะหนักสะสมในร่างกายอาจเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และอาการต่างๆ ได้แก่

1. สารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมในร่างกาย อาจก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย ดังนี้ ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน เวียนศีรษะ หงุดหงิดง่าย มีไข้ต่ำๆ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ผิวหนังเป็นผื่นคันเรื้อรัง เป็นต้น

2. สารโลหะหนักที่เพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระ โดยผ่านปฏิกิริยาเคมีโดยตรง อนุมูลอิสระเป็นโมเลกุลไม่เสถียร สร้างขึ้นทั้งจากผลของการทำงานของเซลล์ต่างๆ ของร่างกาย คล้ายกับของเสีย ที่มาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ หรือเกิดจากสารเคมี โลหะหนัก หรือสารพิษแปลกปลอมต่างๆ เมื่อสร้างขึ้นแล้ว ร่างกายร่างกายมีกลไกในการควบคุม โดยอาศัยเอนไซม์ย่อยสลาย แต่หากอนุมูลอิสระเกิดขึ้นมากเกินไป กลไกเหล่านี้ก็ไม่สามารถต้านทานได้ อาจก่อการทำร้ายผนังเซลล์ ทำร้ายโครงสร้างหลักทางพันธุกรรม คือ DNA ก่อความเสียหาย เช่น ความเสื่อม การกลายพันธุ์ของเซลในร่างกายซึ่งนำไปสู่การเป็นมะเร็ง ฯลฯ

เมื่อไรก็ตามที่มีโลหะหนักอยู่ ปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดสารอนุมูลอิสระเพิ่ม จากขบวนการที่เรียกว่า Fenton Reaction คือ ปฏิกิริยาที่ออกซิเจน เมื่อเจอกับโลหะหนัก ทำปฏิกิริยาเสร็จ ก็จะเกิดอนุมูลอิสระขึ้นมาทันที หรือแม้กระทั่งวิตามินซี ซึ่งถือเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่ออยู่ในภาวะที่มีสารโลหะหนัก ก็จะเกิดปฏิกิริยาที่เป็นการสร้างอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้นเสียเอง โดยแทนที่ร่างกายจะได้รับประโยชน์จากวิตามินซี แต่กลับกลายเป็นโทษต่อร่างกายแทนนั่นเอง
               

3. สารโลหะหนักไปลดระดับของสารต้านอนุมูลอิสระตามธรรมชาติที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น สารโลหะหนักส่วนใหญ่ สามารถจับกับองค์ประกอบสำคัญในโมเลกุลของสารต้านอนุมูลอิสระที่ร่างกายสร้างขึ้น เช่น จับกับ Thiol group ของสารกลูต้าไธโอน ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมาก ที่ช่วยปกป้องร่างกายของเราจากอนุมูลอิสระจำนวนมหาศาล อันเป็นผลมาจากการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในแต่ละวัน เมื่อโลหะหนักเข้าไปจับแน่นกับโมเลกุลของสารต้านอนุมูลอิสระไปแล้ว สารนั้นก็จะไม่สามารถทำงานได้ ร่างกายก็จะอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการถูกคุกคามด้วยอนุมูลอิสระ ซึ่งจะเข้าไปโจมตีไขมัน เกิด lipid peroxidation หรือภาวะไขมันเป็นสนิม เนื่องจากผนังเซลล์ทุกชนิดในร่างกายมีไขมันเป็นก้อน

ดังนั้น ผนังเซลล์ทุกเซลล์ก็มีโอกาสเสียหาย อนุมูลอิสระยังโจมตีโปรตีนทำให้เสียหายทำงานต่อไม่ได้ (protein dysfunction) ฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายมักเป็นโปรตีนหรือสารอะมิโนเรียงต่อกัน การทำงานของฮอร์โมนก็จะเสียไปทำให้เกิดภาวะพร่องโฮร์โมนก่อนกำหนด โมเลกุลต่างๆ ที่เป็นข้อมูลคำสั่งในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ ก็เป็นเปปไทด์ หรือส่วนย่อยของโปรตีน ก็จะถูกโจมตีเช่นกัน

อนุมูลอิสระยังทำลายดีเอนเอ ทำให้เซลล์กลายพันธ์เป็นจุดเริ่มต้นของเซลล์เสื่อมและก่อมะเร็ง อินซูลินที่เรารู้จักกันดีก็เป็นฮอร์โมนเหมือนกัน ดังนั้น เมื่ออินซูลินถูกทำลายหรือใช้การไม่ได้ก็จะทำให้เกิดโรคฮิตคือ เบาหวาน

4. โลหะหนักเป็นพิษโดยตรงต่อผนังเซลล์ ทำให้ผนังเซลล์สูญเสียความแข็งแรง เซลล์ก็จะแตกทำลายเสียหายได้ง่าย เช่น สารตะกั่ว ส่งผลให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเปราะ เม็ดเลือดแดงแตกเสียหายง่าย ทำให้เกิดอาการหนึ่งของพิษตะกั่ว คือ ซีด เพราะเม็ดเลือดแดงแตกไป

5. โลหะหนักตกค้างที่ผนังเซลล์หลอดเลือด ส่งผลยับยั้งการสร้างสารออกฤทธิ์คลายตัวหลอดเลือดตามธรรมชาติ (Nitric Oxide) และส่งผลต่อมาทำให้ ผนังหลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เสี่ยงต่อการตีบ ตัน แตก เป็นปัจจัยหลักที่ก่อโรคผนังหลอดเลือดเสื่อม Endothelial Dysfunction ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เบาหวาน ความดัน หัวใจ หลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต

6. สารโลหะหนักบางชนิด เช่น ตะกั่ว เข้าไปแทนที่ขบวนการของแร่ธาตุ โดยตะกั่วเข้าไปแทนที่แคลเซี่ยม ผ่านช่องทางปกติของแคลเซี่ยม เข้าไปสะสมในกระดูก และขับออกมาจากกระดูก ในช่วงที่มีการปลดปล่อยแคลเซี่ยม เช่นในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร และในภาวะกระดูกพรุน ก็จะปลดปล่อยตะกั่วออกมา

7. สารโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหาร บางครั้งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ทำลายแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ ส่งผลให้สมดุลของจุลชีพในลำไส้แปรเปลี่ยนไป และอาจเป็นสาเหตุของภาวะเยื่อบุลำไส้สูญเสียคุณสมบัติความเป็นผนังกั้นไปที่เรียกว่า Leaky Gut Syndrome ภาวะนี้ก่อให้เกิดความเสื่อมของร่างกายได้หลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวข้องกับอาการภูมิแพ้ อ่อนเพลียเรื้อรัง สมองเสื่อมจากภาวะภูมิต่อต้านตัวเอง ฯลฯ

8. สารโลหะหนักส่งผลให้เลือดมีความเป็นกรดเพิ่มมากขึ้น โดยปกติร่างกายทนต่อความเปลี่ยนแปลงทางกรดด่างได้น้อยมากจึงมีระบบปรับสมดุลที่รวดเร็วมาก โดยเมื่อร่างกายเป็นกรด จะมีการดึงแคลเซี่ยมออกมาจากที่สะสมไว้ในกระดูก อาจส่งผลในระยะยาวต่อความหนาแน่นมวลกระดูกได้

9. สารโลหะหนักผ่านรกได้ง่ายมาก และผ่านเข้าไปในต่อมน้ำนมในการผลิตน้ำนมแม่ได้ ซึ่งส่งผลเสียต่อสมองและระบบประสาทที่กำลังเจริญเติบโต และยังไม่แข็งแรงของทารกได้ง่าย

10. สารโลหะหนักเกือบทั้งหมด เป็นพิษต่อภูมิต้านทาน โดยการสร้าง Haptens ซึ่งก่อปฏิกิริยาทางภูมิต้านทาน ส่งผลให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ และชักนำไปสู่ภาวะแพ้สารเคมีหลายชนิด Multiple Chemical Sensitivity

11. สารโลหะหนัก ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ DNA และ RNA โดยยับยั้ง histone function ยับยั้ง translation และ transcription ของทั้ง DNA และRNA เซลล์ต่างๆ จึงหยุดการทำงาน อวัยวะก็ค่อยๆ เสียหน้าที่ไป

12. สารโลหะหนัก ที่สะสมในต่อมหมวกไต ทำให้ต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนลดลง เกิดภาวะต่อมหมวกไตล้า ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเสื่อมเร็ว ความเครียดสูง เช่นเดียวกับในต่อมไร้ท่ออื่นๆ หากมีสารโลหะหนักสะสมก็จะทำให้สร้างฮอร์โมนต่างๆ ลดลง

13. โลหะหนักต่างๆ เป็นตัวการก่อให้เกิดอนุมูลอิสระ ทำให้หลอดเลือดอักเสบ ผนังหลอดเลือดขรุขระ เกิดความไม่เรียบของพื้นผิว ส่งผลให้เกิดหลอดเลือดแข็ง เกิดคราบตะกรันเกาะ (Plaque) หรือเกิดลิ่มเลือดอุดตันตามมา

14. สารโลหะหนักสะสมส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานไม่ตอบสนองต่อยาลดน้ำตาลในเลือด สารโลหะหนักสามารถนำไปสู่ภาวะเสื่อมของระบบประสาท เช่น ความคิด ความจำ และโรคซึมเศร้า เกี่ยวข้องกับการที่กระดูกพรุน ภาวะฮอร์โมนไธรอยด์ต่ำ

สารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมในร่างกาย บางครั้งอาจไม่ได้มีอาการของโรคแสดงออกมา แต่ในบางรายก็อาจจะมีอาการไม่สดชื่น คิดอะไรไม่ค่อยออก ในกรณีที่ตัวคุณสงสัยว่าอาจมีสารพิษโลหะหนักตกค้างสะสมอยู่ในร่างกาย สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจสารพิษโลหะหนักได้ที่ ยศการ คลินิก เพื่อตรวจสารพิษโลหะหนักว่ามีตกค้างในปริมาณที่เป็นอันตรายหรือไม่ หากตรวจสารพิษโลหะหนักแล้วพบว่ามีตกค้างจริง จะต้องพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือทำการกำจัดออกด้วยวิธีการทางแพทย์ เพื่อให้ร่างกายกลับมาสะอาดปราศจากสารพิษ

สารพิษโลหะหนักที่มักพบในร่างกายเรามีอะไรบ้าง

โลหะหนักที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันของเรามีอยู่ทั้งหมด 5 ชนิดหลักๆ ด้วยกัน คือ

  • อะลูมิเนียม
  • สารหนู
  • ปรอท
  • ตะกั่ว
  • แคดเมียม

สารพิษโลหะหนักมาจากไหนบ้าง

มนุษย์รับเอาสารพิษโลหะหนักเข้ามาสู่ร่างกาย ทั้งทางหายใจ การดื่ม การรับประทาน การสัมผัส ทางผิวหนัง สารพิษโลหะหนักสามารถก่อพิษทั้งแบบเฉียบพลัน เมื่อได้รับเข้าไปในปริมาณมากๆ หรือค่อยๆ สะสมเข้าไปในร่างกายทีละน้อยๆ และก่อให้เกิดพิษแบบเรื้อรัง โดยที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ว่าเกี่ยวข้องกับการรับสารโลหะหนักเข้ามาทีละน้อย สารโลหะหนักมักจะปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม และสามารถปนเปื้อนไปยังห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ เช่น

  • ปนเปื้อนอยู่ในอาหารสัตว์ กุ้ง หอย ปู ปลา ในพืชผักผลไม้
  • การสัมผัสกับโรงงานอุตสาหกรรม
  • มลภาวะในอากาศและน้ำ
  • ยา
  • ภาชนะบรรจุอาหาร จาน และเครื่องครัวที่ไม่เหมาะสม
  • กลืนสีที่มีส่วนผสมของตะกั่ว
  • จากโรงงานอุตาสาหกรรม เช่น โรงงานแบตเตอรี่
  • งานอดิเรกที่เกี่ยวข้อง เช่น บัดกรี หรือเชื่อมโลหะ หรือบางรายโดนยิงมีกระสุนฝังในตัว

อาการของคนที่ได้รับสารพิษโลหะหนัก

  1. มีอาการต้องสงสัย เช่น มีภาวะซีด ปวดท้อง กล้ามเนื้ออ่อนแรงเรื้อรัง      
  2. ปวดศีรษะบ่อยๆ ไม่ทราบสาเหตุ ปวดตามร่างกาย อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าง่าย เหน็บชา ตามปลายมือปลายเท้า เป็นตะคริวบ่อยๆ  ท้องอืด ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน หงุดหงิดง่าย มีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ มีแผลร้อนในในปากเป็นประจำ หรือมีปัญหาผื่นแพ้หรือลมพิษ เป็นต้น
  3. หากโลหะหนักมีการสะสมในร่างกายเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดอนุมูลอิสระหรือ Oxidative stress ที่เป็นอันตรายต่อเซลล์ส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงต่อการก่อให้เกิดกลุ่มโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคอัลไซเมอร์ และโรคมะเร็ง เป็นต้น

การตรวจสารพิษโลหะหนัก (Heavy metal testing) ดีต่อตัวเราอย่างไร

                การตรวจสารพิษโลหะหนัก (Heavy metal testing)ไม่ใช่วิธีการรักษาโรค แต่เป็นการตรวจเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี เนื่องจากจะช่วยให้ป้องกันการเพิ่มขึ้นของปริมาณโลหะหนักในร่างกาย หากชีวิตประจำวันของคุณมีความเสี่ยงในการรับสารพิษโลหะหนัก คุณสามารถเข้ามาปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ ยศการ คลินิก เพื่อตรวจสารพิษโลหะหนักว่ามีตกค้างในปริมาณที่เป็นอันตรายหรือไม่

                ซึ่งการจะป้องกันไม่ให้ร่างกายของเรารับสารโลหะหนักเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ดังนั้น การตรวจสารพิษโลหะหนัก (Heavy metal testing) จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้เรารู้ได้ เพื่อพิจารณาในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือทำการกำจัดออกด้วยวิธีการทางแพทย์ เพื่อให้ร่างกายกลับมาสะอาดปราศจากสารพิษ

ใครบ้างที่มีความเสี่ยง มีสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย

  1. คนที่ทำงานหรืออยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม บ้านอยู่ในเขตที่มีการปนเปื้อน
  2. ผู้ที่อยู่อาศัยใกล้แหล่งโรงงานอุตสาหกรรม
  3.  ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
  4. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
  5. ผู้ที่ชอบทำสีผมทำเล็บ
  6. ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารทะเลที่มาจากแหล่งปนเปื้อนน้ำเสียที่ปล่อยจากโรงงานอุตสาหกรรม
  7. ผู้ที่มีวัสดุอุดฟันที่ใช้สารอะมัลกัม
  8. ผู้ที่รับประทานผักผลไม้ที่การปนเปื้อนยาฆ่าแมลงเป็นประจำ

การป้องกันภาวะพิษจากโลหะหนักต้องทำอย่างไร

  1.  สวมหน้ากากและชุดป้องกันหากทำงานในที่ที่มีโลหะหนัก
  2.  โลหะหลายชนิดสะสมในฝุ่นและสิ่งสกปรก ดังนั้น ควรทำความสะอาดบ้านให้มากเท่าที่ทำได้
  3. ให้ความสนใจกับคำเตือนปริมาณตะกั่วในปลาท้องถิ่นที่วางขาย
  4. ระวังแหล่งที่ทำให้สัมผัสกับสารตะกั่ว หรือโลหะหนักตัวอื่นๆ
  5. ตรวจสารพิษโลหะหนักในฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่นำกลับบ้าน