Telomere testing

เทโลเมียร์ คืออะไร ทำหน้าที่อะไรในร่างกาย

– เทโลเมียร์ คืออะไร?

ไม่จำเป็นเสมอไป ที่ตัวเลขอายุของเราจะต้องสัมพันธ์กับอายุของร่างกาย บางคนแม้จะมีอายุมากแต่กลับดูเด็กหน้าอ่อนกว่าวัย ดูแอคทีฟตลอดเวลาไม่ต่างจากวัยรุ่น ในขณะเดียวกันบางคนอายุน้อยแต่กลับหน้าแก่เกินวัย และดูอิดโรย นั่นเพราะร่างกายของเราไม่ได้เสื่อมถอยเพราะกาลเวลาแค่อย่างเดียว

ร่างกายมนุษย์ประกอบด้วยเซลล์เล็กๆ จำนวนมากกว่า 37 ล้านล้านเซลล์ ในนิวเคลียส์ของเซลล์แต่ละเซลล์ จะมี DNA หรือ รหัสพันธุกรรม ที่ทำหน้าที่เก็บขอมูลทางพันธุกรรมของมนุษย์ รหัสพันธุกรรมประกอบขึ้นจากกรดดิออกซิริโบนิวคลิค ที่ทำหน้าที่สั่งการให้ร่างกายของเราสร้างเซลล์ต่างๆ ขึ้นมาตามแบบเฉพาะของรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล โมเลกุลของรหัสพันธุกรรมในเซลล์ต่างๆ จะเรียงตัวกันอยู่แบบขั้นบันไดบนโครโมโซมซึ่งมีทั้งหมด 23 คู่

เทโลเมียร์ คือ ดีเอ็นเอที่อยู่ส่วนปลายสุดของโครโมโซม ดังนั้น เราจะมีเทโลเมียร์ทั้งหมด 92 อัน ทำหน้าที่กำหนดอายุขัยของเซลล์ และแน่นอน เทโลเมียร์จึงเป็นตัวกำหนดอายุขัยของชีวิตเราด้วย เทโลเมียร์ยังเป็นกุญแจดอกสำคัญที่จะนำเราไปสู่การไขความลับของกระบวนการเสื่อมชรา ทุกๆ ครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว เทโลเมียร์จะสั้นลง ระบบการทำงานในร่างกายจะเสื่อมถอยลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น

ที่น่าสนใจคือ เทโลเมียร์ ในแต่ละคนหดสั้นเร็วช้าไม่เท่ากัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่เราอยู่ในท้องแม่ โดยมีการพบความแตกต่างว่า เด็กที่อยู่ในท้องแม่ที่มีความสุขในตอนตั้งครรภ์ กับแม่ที่ค่อนข้างเครียดหรือสุขภาพไม่ดี เด็กสองคนนี้ก็จะมีเทโลเมียร์ไม่เท่ากัน หรือถ้าหากเด็กโตมาแล้วมีแต่ความเครียดมากๆ เทโลเมียร์ของเขาก็จะหดสั้นลงได้เร็ว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เทโลเมียร์สั้นลงกว่าปกติ เช่น การอดนอน การดื่มแอลกอฮอล์ กินอาหารไม่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เป็นต้น

– เทโลเมียร์ทำหน้าที่อะไรในร่างกาย?

เทโลเมียร์เป็นส่วนปลายของโครโมโซมที่มีลักษณะเป็นปลอกหุ้มทรงยาวขนาดเล็กคล้ายปลายเชือกผูกรองเท้า โดยมีเอนไซม์เทโลเมอเรสเป็นตัวสร้าง และควบคุมความยาวของเทโลเมียร์ให้อยู่ในระดับสมดุล เพื่อช่วยป้องกัน DNA หรือสารพันธุกรรมบนโครโมโซมแต่ละแท่งไม่ให้หลุดลุ่ยเมื่อเกิดการแบ่งเซลล์ภายในร่างกายแต่ละครั้ง และป้องกันไม่ให้ข้อมูลรหัสพันธุกรรมถูกทำลายไปด้วย โดยเทโลเมียร์จะหดสั้นลงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ความสามารถในการปกป้องโครโมโซมลดลง นำไปสู่การเสื่อมและตายของเซลล์ตามมา

แม้ว่าเทโลเมียร์จะหดสั้นลงทุกครั้งที่เซลล์แบ่งตัว แต่ก็ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เซลล์แบ่งตัวมากเกินไปจนอาจนำไปสู่ความผิดปกติของเซลล์ ซึ่งความสั้นยาวของเทโลเมียร์นั้นมีบทบาทต่อการควบคุมความตายและการเกิดโรคของมนุษย์ แต่เมื่ออายุมากขึ้น หรือปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ เช่น มลภาวะ หรือพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เทโลเมียร์มีขนาดสั้นลง หมายถึง DNA เริ่มถูกทำลาย นำไปสู่การเสื่อมชรา และเกิดโรคต่างๆ นั่นเอง

ข่าวดีคือ ยศการ คลินิก ใช้วิธีการทางการแพทย์ประยุกต์ สามารถทำให้เทโลเมียร์มีความยาวเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้อายุขัยของคนเรายาวขึ้นได้

นอกจากความสั้นยาวของเทโลเมียร์จะสามารถบอกถึงอายุขัยของแต่ละบุคคลแล้ว ยังสามารถพยากรณ์โรคที่จะเกิดได้อีกด้วย ยศการ คลินิก จึงนำนวัตกรรมการวัดเทโลเมียร์ หรือ Telomere Testing เพื่อพยากรณ์โรคต่างๆ  เป็นการตรวจเพื่อป้องกันโรคที่ตรวจลึกถึงระดับเซลล์และโครโมโซม โดยเป็นการตรวจวัดความยาวของ DNA ส่วนปลายสุดของโครโมโซม ซึ่งสามารถใช้บ่งชี้อายุของเซลล์ตามชีวภาพ (Biological age) และบอกภาวะเสื่อมของเซลล์ (Degenerative status) ที่เกิดขึ้นก่อนวัยซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคในอนาคต

ในแต่ละคนมีความยาวของเทโลเมียร์ไม่เท่ากัน…เพราะเหตุใด

ความยาวของเทโลเมียร์สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมการใช้ชีวิต อารมณ์ความรู้สึก หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน พฤติกรรมการใช้ชีวิตบางประการอาจเป็นปัจจัยให้เทโลเมียร์ยาวขึ้นหรือสั้นลงก่อนเวลาอันควร เช่น

  • คนที่เอาใจใส่เรื่องการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารแบบเมดิเตอร์เรเนียน อาจมีส่วนช่วยให้ความยาวของเทโลเมียร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นอาหารที่เน้นการกินธัญพืชไม่ขัดสี อาหารทะเล ผักผลไม้ ถั่ว น้ำมันมะกอก สมุนไพร สัตว์ปีก ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูงและส่งผลดีต่อสุขภาพ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม รวมทั้งลดการกินเนื้อหมู เนื้อวัว ไวน์ และผลิตภัณฑ์จากนมให้เหลือปริมาณเล็กน้อย
  • การดำเนินวิถีชีวิตของบางคน เป็นตัวเร่งกระบวนการเสื่อมสภาพให้เร็วขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการดื่มแอลกอฮอล์ มลภาวะ ความเครียด นอนน้อย ขาดการออกกำลังกาย การใช้ชีวิตแบบเร่งรีบจนไม่มีเวลากินอาหารเช้า พักผ่อนไม่เพียงพอ สูบบุหรี่ ปัจจัยพวกนี้ล้วนแต่เร่งความเสื่อมทั้งสิ้น
  • ปัญหาสภาพแวดล้อมทางอากาศ ก็นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เทโลเมียร์เราหดสั้นลงเร็วขึ้น ทั้งนี้ ในแต่ละคนจะส่งผลมากน้อยไม่เท่ากัน เพราะมีภูมิป้องกันในตัวที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีได้รับมลพิษพร้อมกันในปริมาณที่เท่ากัน แต่อนุมูลอิสระหรือของเสียที่เกิดขึ้นในร่างกายก็อาจจะไม่เท่ากัน เนื่องจากระบบในการต่อต้านขยะในร่างกายไม่กัน เมื่อเป็นแบบนี้ คนที่ร่างกายมีอนุมูลอิสระมาก ก็จะส่งผลต่อการหดตัวลงของเทโลเมียร์ด้วยเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความเร็วของการหดตัวของเทโลเมียร์ของแต่ละคนจึงไม่เท่ากัน เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นๆ ประกอบอีกหลายประการนั่นเอง

ดังนั้น ความยาวของเทโลเมียร์จึงบ่งบอกถึงความเสื่อมของเซลล์และเป็นตัวชี้วัดอายุร่างกายได้ คนที่มีเทโลเมียร์สั้นมากทั้งๆ ที่อายุน้อย นั่นหมายถึงว่าคนๆ นั้นแก่เร็วเกินไป และการทำงานที่ผิดปกติของเทโลเมียร์ยังมีความสัมพันธ์กับโรคบางชนิด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น

การตรวจเทโลเมียร์  (Telomere testing)  มีความสำคัญกับชีวิตเราแค่ไหน

การตรวจ Telomere testing ที่ยศการ คลินิก เป็นการตรวจเพื่อป้องกันโรคที่ตรวจลึกถึงระดับเซลล์และโครโมโซม โดยเป็นการตรวจวัดความยาวของ DNA ส่วนปลายสุดของโครโมโซม ซึ่งสามารถใช้บ่งชี้อายุของเซลล์ตามชีวภาพ (Biological age) และบอกภาวะเสื่อมของเซลล์ (Degenerative status) ที่เกิดขึ้นก่อนวัยซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดโรคในอนาคต ผลตรวจเทโลเมียร์ ที่ได้ถือเป็นตัวบ่งชี้อายุของเซลล์ทางชีวภาพ ช่วยให้เราประเมินสภาวะร่างกายได้ว่าเหมาะสมกับอายุจริงหรือไม่ ดีสมวัย ดีกว่าวัย หรือแย่เกินอายุจริง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมสุขภาพ โดยเราสามารถแปลผลที่ได้แล้วนำมาปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่อป้องกันการเกิดโรค และชะลอความเสื่อมของเซลล์

นอกจากนี้ การตรวจวัดความยาวเทโลเมียร์ยังสามารถนำมาใช้ในการติดตามการดำเนินของโรคเรื้อรังต่างๆ รวมถึงดูผลการตอบสนองต่อการรักษาโรคในบางงานวิจัยได้อีกด้วย เป็นประโยชน์กับแพทย์ในการหาวิธีในการดูแลและป้องกันโรคเฉพาะบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

เพราะเหตุใดผู้ที่มีเทโลเมียร์ยาว จึงมีอายุยืนยาวและดูอ่อนกว่าวัย

เมื่อพูดถึงกระบวนการเสื่อมชราของคนเรา จุดเริ่มต้นทั้งหมดเริ่มจากสิ่งที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ของเรา โครงสร้างของแต่ละเซลล์ประกอบด้วยโครโมโซมที่ทำหน้าที่เป็นตัวพาหน่วยพันธุกรรมของเรา และตรงส่วนปลายสุดของโครโมโซมมีปลอกหุ้มที่เป็นโปรตีนเรียกว่า เทโลเมียร์

เทโลเมียร์เป็นดรรชนีบ่งชี้ภาวะชราภาพที่ดีที่สุด เปรียบเสมือนเป็นนาฬิกาแห่งชีวิต ทุกๆ ครั้งที่เซลล์มีการแบ่งตัว เทโลเมียร์จะสั้นลง การหดสั้นลงของเทโลเมียร์ ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพของเซลล์ ระบบการทำงานภายในร่างกายจะถดถอยลงตามอายุที่มากขึ้น มีบทบาทสำคัญต่อการเกิดโรค และการเสียชีวิตก่อนกำหนด         

ในอีกด้านหนึ่ง หากเทโลเมียร์ที่มีขนาดยาวสามารถบ่งบอกว่าสภาวะร่างกายของเราอยู่ในเกณฑ์ดี ชะลอวัย ดูอ่อนเยาว์ และจะมีอายุที่ยืนยาวได้ ปัจจัยสำคัญคือ การมีเทโลเมียร์ที่แข็งแรง ซึ่งปัจจัยเกี่ยวกับวิถีชีวิตนั้นมีบทบาทสำคัญต่อความยาวของเทโลเมียร์ เช่น การลดความเครียด การนอนพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นผลดีอย่างแท้จริงต่อสุขภาพของเราโดยลงลึกไปถึงระดับเซลล์เลยทีเดียว

อะไรคือปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เทโลเมียร์ในร่างกายเราสั้นเร็วกว่าปกติ

เมื่ออายุมากขึ้นเทโลเมียร์จะสั้นลงตามกลไกการแบ่งเซลล์ปกติของร่างกาย เรียกได้ว่าเป็นการหดสั้นลงที่เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นปัจจัยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทว่ายังมีอีกหลายปัจจัยที่เราสามารถหลีกเลี่ยงได้ ปัจจัยเหล่านี้นับเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงเร็วกว่าปกติ ความเสื่อมจึงมาเยือนเราเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งอาจแสดงออกมาในรูปแบบของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งที่อายุยังไม่มาก หรือการมีรูปร่างหน้าตาและผิวพรรณที่ดูแก่กว่าวัย เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่

  1. ความเครียด เนื่องจากความเครียดสัมพันธ์ต่อการหลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid Hormone) จากต่อมหมวกไต ฮอร์โมนนี้ทำให้ระดับของสารต้านอนุมูลอิสระลดลงจึงเพิ่มอนุมูลอิสระไปทำลายดีเอ็นเอมากขึ้น และเร่งการหดตัวของเทโลเมียร์
  2. การสูบบุหรี่ มีงานวิจัยชี้ว่ายิ่งปริมาณการสูบบุหรี่มากยิ่งทำให้เทโลเมียร์หดสั้นลงมากขึ้น โดยหากสูบบุหรี่วันละ 1 ซองติดต่อกัน 40 ปี จะทำให้อายุขัยสั้นลง 4 ปี
  3. ความอ้วน มีงานวิจัยพบว่าค่าความยาวรอบเอวและดัชนีมวลร่างกาย (BMI) สัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระทั้งในเลือดและในปัสสาวะอย่างมีนัยยะสำคัญ และเทโลเมียร์ของคนอ้วนนั้นสั้นกว่าเทโลเมียร์ของคนผอมในกลุ่มอายุเดียวกันอีกด้วย
  4. อาหาร อาหารประเภทน้ำตาล แป้งขัดขาว ไขมันอิ่มตัวทำให้เทโลเมียร์สั้นลง

เราจะทำให้เทโลเมียร์ไม่สั้นลงก่อนกำหนดได้อย่างไรบ้าง

  1. กินอาหารรวมถึงเครื่องดื่มที่มีแคลอรี่ต่ำ ไขมันต่ำ น้ำตาลน้อย
  2. กินผักผลไม้มากๆ  ควรกินให้ได้วันละ 5-7 อุ้งมือ เพื่อร่างกายจะได้รับปริมาณวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และสารต้านอนุมูลอิสระที่มากพอ
  3. กินธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ซีเรียลโฮลเกรน
  4. กินถั่วและผลิตภัณฑ์จากถั่ว  
  5. รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 เช่น ปลา น้ำมันพืช ถั่ว เมล็ดพืชต่าง ๆ หรือผักใบเขียว เป็นต้น การรับประทานโอเมก้า 3 มีส่วนช่วยฟื้นฟูความอ่อนเยาว์ของเซลล์และซ่อมแซมความเสียหายของเทโลเมียร์ ช่วยชะลอการเกิดโรคจากความเสื่อมของร่างกาย โดยเฉพาะโรคมะเร็งหรือโรคหัวใจและหลอดเลือด
  6. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยวิธีเดินเร็วหรือชนิดที่มีความหนักระดับปานกลาง อย่างน้อย 30 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 5 วัน มีการศึกษาพบว่านักกีฬาที่มีการออกกำลังกายมาโดยตลอด เทโลเมียร์จะสั้นลงช้ากว่าคนไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ เพราะการออกกำลังกายช่วยกระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์เทโลเมอเรส ที่ช่วยให้เทโลเมียร์คงสภาพ นี่คงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนที่ออกกำลังกายเป็นประจำดูอ่อนกว่าวัย
  7. จัดการความเครียดด้วยวิธีต่างๆ เช่น โยคะแบบผ่อนคลาย หรือฝึกสติตามดูลมหายใจ หรือการฝึกผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
  8. พบปะพูดคุยกันในกลุ่มเพื่อน อย่างน้อยสัปดาห์ละ  1 ชั่วโมง เนื่องจากการพูดคุยกับเพื่อนจะช่วยลดความเครียดและช่วยผ่อนคลายสมองจากเรื่องเครียดๆ ที่สะสมลงได้