มารู้จัก NK Cell เพชรฆาตต้านมะเร็งมือพระกาฬ
NK Cell หรือ Natural Killer Cell เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในระบบเลือด ซึ่งร่างกายใช้ต่อต้านเชื้อไวรัสที่จะเข้าสู่ร่างกาย และใช้ในการกำจัดเซลล์มะเร็งหรือเซลล์กลายพันธ์ ทั้งนี้ พบว่าเซลล์กลายพันธ์เกิดขึ้นในร่างกายทุกวันตลอดเวลา แต่ที่เรายังไม่เป็นมะเร็งนั้น ก็เพราะเรามีระบบเม็ดเลือดขาวที่ดีช่วยกำจัดเซลล์มะเร็งที่เกิดขึ้น จนไม่สามารถรวมตัวกันก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้
อย่างไรก็ตาม หากระบบภูมิต้านทานรวมถึงระบบเม็ดเลือดขาวทำงานได้น้อยลง เซลล์กลายพันธ์จะสามารถเกาะตัวกันแล้วเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นจุดเป็นเม็ด และเป็นก้อนกลายเป็นโรคมะเร็งร้ายไปในที่สุด
อนึ่ง NK Cell เป็นหนึ่งในระบบเม็ดเลือดขาว โดยมีสัดส่วนเพียง 1% ของเม็ดเลือดขาว ในร่างกายของเราแต่มีหน้าที่ที่โดดเด่น และเป็นเซลล์เพียงหนึ่งเดียวที่ไม่สร้างปฏิกิริยาแอนติเจนและแอนติบอดี้ มีคุณสมบัติสามารถแยกแยะและมุ่งสู่เป้าหมายเพื่อกำจัดและทำลายเซลล์มะเร็ง เชื้อโรค รวมถึงไวรัสชนิดต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพสูง
การตรวจการทำงานของ NK Cell testing แม้จะไม่ได้บอกประสิทธิภาพการทำงานของภูมิต้านทานทั้งหมด เพราะระบบร่างกายยังมีเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดอื่นที่สำคัญอีก เช่น T Lymphocyte ที่ทำงานโดยสร้างแอนติบอดี้เข้าไปกำจัดเชื้อโรคและเซลล์มะเร็ง แต่ในการศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบเทียบในคนปกติจำนวน 103 คน ที่ตรวจพบว่าการทำงานของ NK Cell ตํ่าลง โดยกลุ่มหนึ่งได้รับการรักษาด้วย NK Cell Therapy ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่ได้รับการรักษา เมื่อเวลาผ่านไป 5 ปี พบว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการรักษาเกิดโรคมะเร็งขึ้น 14% ส่วนกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วย NK Cell เกิดโรคมะเร็งขึ้นเพียง 2% สามารถสรุปได้ว่า NK Cell มีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้สูงมากถึง 7 เท่าหรือป้องกันได้ถึง 700%
สำหรับผู้ที่สนใจตรวจการทำงานของ NK Cell Testing ด้วยเทคโนโลยีการตรวจความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งที่มีความแม่นยำ โดยอาศัยการตรวจวัดประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็งของเซลล์เม็ดเลือดขาวภายในร่างกายของเรา ว่ามีระดับความสามารถในการทำลายเซลล์มะเร็งมากหรือน้อยเพียงใด เพื่อป้องกันและประเมินความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ทั้งนี้ คุณสามารถสอบถาม ขอคำปรึกษา และนัดหมายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจ NK Cell Testing ได้ทุกวันทำการที่ยศการ คลินิก
NK Cell ของเราทำงานอย่างไร
บนผิวของ NK Cell จะมีตัวรับ (Receptor) ทั้งตัวรับที่ส่งสัญญาณให้เกิดกระบวนการทำลายเซลล์เป้าหมายที่ผิดปกติ และตัวรับที่ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของตัว NK Cell เอง ซึ่งการแสดงออกของ NK Cell ว่าจะทำลายเซลล์กลายพันธุ์ที่ผิดปกตินั้นๆ หรือไม่ ขึ้นอยู่กับการประมวลผลระหว่างสัณญานกระตุ้นการทำงาน และสัญญาณยับยั้งการทำงานของ NK Cell
โดย NK Cell จะไม่ทำลายเซลล์ปกติของร่างกาย เนื่องจากโปรตีน HLA-Antigen ซึ่งมีอยู่บนเซลล์ปกติของร่างกายทุกเซลล์นั้นทำหน้าที่เป็นส่วนที่จับกับตัวรับบนผิว NK Cell แล้วส่งสัญญาณยับยั้งนั่นเอง โดยในระหว่างการเจริญเติบโตของ NK Cell จะมีกระบวนการสำคัญนั่นคือ กระบวนการเรียนรู้ เพื่อรู้จักเนื่อเยื่อตัวเอง (HLA Antigen) ซึ่งจะมีความจำเพาะในแต่ละบุคคล
NK Cell ในร่างกายเราแกร่งแค่ไหน ทำไมต้องตรวจ NK Cell Testing
ปกติแล้วในร่างกายของคนเราจะมี NK Cell อยู่ที่ประมาณ 2,000 – 5,000 ล้านเซลล์ โดย NK Cell เปรียบเสมือนกองทัพทหารที่คอยปกป้อง พร้อมเคลื่อนเข้าไปเผชิญหน้ากับเซลล์กลายพันธุ์เหล่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งคุณรู้หรือไม่ว่าร่างกายของมนุษย์มีเซลล์กลายพันธุ์เกิดขึ้นมากกว่า 5,000 เซลล์ต่อวัน เท่ากับว่าร่างกายของคนเรามีความเสี่ยงที่เป็นมะเร็งอยู่ตลอดเวลา
ในร่างกายของบางคนอาจมีจำนวน NK Cells ในปริมาณมากก็จริง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าภูมิคุ้มกันจะดีเสมอไป ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความสามารถในการต่อต้านเซลล์กลายพันธุ์ว่าทำได้อย่างเต็มประสิทธิภาพหรือไม่
เพื่อที่จะประเมินว่าร่างกายของเรามีความสามารถในการต่อสู้กับเซลล์กลายพันธุ์ที่เป็นอันตรายเพียงใด ยศการ คลินิก จึงนำนวัตกรรมการวัดการทำงานของ NK Cell การตรวจ NK Cell Testing ทำได้ทุกวันทำการที่ยศการ คลินิก ซึ่งเป็นส่วนหลักของระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อดูว่าระดับการทำงาน NK Cell ของเราทำงานได้ดีเพียงใดเมื่อต้องเจอกับเซลล์กลายพันธุ์ เพราะการทำงานของ NK Cell สามารถบ่งชี้ได้ว่า ร่างกายของเรามีความสามารถในการป้องกันตัวเองได้ดีเพียงใด การทดสอบนี้จะช่วยให้แพทย์ประเมินความเสี่ยงของเราต่อการเกิดโรคและมะเร็งได้
หากระดับการทำงานของ NK Cell ของเราอยู่ในระดับสูง นั่นหมายถึงความคุ้มค่ากับการลงทุนในการรักษาเพื่อคงระดับนี้ไว้ เพื่อการส่งเสริมอายุที่ยืนยาวขึ้น คงความแข็งแรงของระบบภูมิคุ้มกันของเรา ซึ่งการตรวจ NK Cell Testing จะช่วยให้ร่างกายของเรามีความพร้อมอยู่เสมอที่จะเผชิญหน้ากับโรคต่างๆ
ใครบ้างที่ควรได้รับการตรวจ NK Cells Testing
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวหรือญาติพี่น้องเป็นมะเร็ง
- ผู้ที่มีการติดเชื้อบ่อยๆ ซึ่งแสดงถึงภูมิคุ้มกันบกพร่อง
- ผู้ที่เป็นโรคมะเร็งทั้งรักษาแล้ว และกำลังอยู่ระหว่างการรักษา
- ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคไขมัน เป็นต้น
- ผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง
- ผู้ที่พักผ่อนน้อย มีชีวิตเร่งรีบ ไม่ดูแลสุขภาพ ดื่มสุรา สูบบุหรี่
- กลุ่มคนที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม และ มีค่า NK Cells ต่ำว่า 250
- ผู้ที่มีสภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง
- ผู้ที่ต้องสัมผัสกับฮอร์โมน หรือมลพิษจากสิ่งแวดล้อมเป็นระยะเวลายาวนาน
- ผู้ที่มีสุขภาพดี ที่ต้องการตรวจติดตามการทำงานของภูมิคุ้มกัน ที่มีมาแต่กำเนิดแบบไม่จำเพาะเจาะจงของตนเอง
ผลการตรวจ NK Cell Testing จะบอกเราอะไรได้บ้าง
การตรวจ NK Cell Testing วิเคราะห์ปริมาณหรือความสามารถในการทำงานของ NK Cell จะช่วยให้ทราบว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งหรือไม่ หรือช่วยในการตัดสินใจว่าเราแข็งแรงพอที่จะรักษาด้วยวิธีฉายรังสีหรือไม่ สำหรับคนที่มีความบกพร่องในปริมาณหรือความสามารถในการทำงานของ NK cell (NK cell deficiency or low NK cell count) มีความเสี่ยงสูงมากที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็ง เนื่องจาก NK cell เป็นด่านแรก ที่จะตรวจจับและฆ่าเซลล์มะเร็งก่อนที่เซลล์มะเร็งจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและควบคุมไม่ได้ในที่สุด
– ค่าตํ่ากว่าค่าอ้างอิง บ่งชี้ว่า ประสิทธิภาพของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาวะตํ่า อาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น
- ผู้ป่วยมะเร็งหรือบุคคลที่มีสมาชิกในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง
- รูปแบบการดําเนินชีวิต (Lifestyle) ไม่เหมาะสม เช่น การสูบบุหรี่จัด อดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ (น้อยกว่า 7 ช.ม. ต่อวัน) มีภาวะเครียดสูง นํ้าหนักตัวเกินมาตรฐาน
- ผู้ที่มีภาวะโภชนาการไม่ดี เช่น รับประทานอาหารบางประเภทไม่เพียงพอ เช่น อาหารจําพวกผักผลไม้โปรตีนจากถั่ว
- ผู้ที่ได้รับยาบางประเภท เช่น ยากดภูมิคุ้มกัน ยาเคมีบําบัด
- ผู้ป่วยหลังผ่าตัด
- ผู้ป่วยด้วยโรคบางอย่าง เช่น ผู้ป่วย Perforin deficiency, NEMO mutation
– ค่าปกติ บ่งชี้ว่า ประสิทธิภาพของเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอยู่ในสภาวะปกติ
– ค่าสูงกว่าค่าอ้างอิง แสดงว่า เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันดูเหมือนจะมีการทํางานที่มากกว่าปกติ บ่งชี้ว่า เซลล์ที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันมีประสิทธิภาพที่ดี อย่างไรก็ตาม อาจจะบ่งชี้ว่าร่างกายมีการติดเชื้อหรือมีความเสี่ยงที่จะพัฒนาเป็นโรคที่สัมพันธ์กับอายุ (Age-related disease) เช่น Alzheimer’s disease เป็นต้น
ต้องทำอย่างไรเมื่อ NK Cell ทำงานไม่ดี
เพื่อป้องกันโรคมะเร็งและโรคอื่นๆ สิ่งสำคัญคือ ต้องสร้างพลังป้องกันให้กับระบบภูมิคุ้มกันของคุณ โดยเฉพาะเมื่อระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงเนื่องจากโรคมะเร็ง เพราะโรคมะเร็งสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติของคุณได้ ดังนั้น เมื่อเราตรวจ NK Cell Testing พบว่า NK Cell ทำงานได้ไม่ดี ควรปฏิบัติตน ดังนี้
1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต อาทิ การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เลิกดื่มแอลกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ และทำจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ เพราะสภาพจิตใจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการหลั่งสารเอนโดฟินหรือสารสุขในร่างกาย สารนี้พอหลั่งออกมาทำให้ระบบการทำงานของเซลล์ดีขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากจิตใจห่อเหี่ยว เศร้า เป็นทุกข์ ร่างกายจะหลั่งสารทุกข์ (อะดรีนาลิน) ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่ดี ร่างกายอาจเจ็บป่วยได้ สารเอนโดฟินจะหลั่งเมื่อจิตใจมีความสุข สงบ เบิกบาน ฉะนั้น การคิดแต่สิ่งดีๆ คิดช่วยเหลือผู้อื่น คิดในด้านบวกก็เป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเช่นกัน
2. รับประทานอาหารที่มีผลต่อ NK Cell ได้แก่
- โยเกิร์ต ช่วยกระตุ้นการทำงานของ NK cells กระตุ้นการสร้างสารแอนติบอดี้ และสารต้านโรคอื่นๆ เพิ่มปริมาณ Interferon เป็นสามเท่า (Interferon เป็นสารเคมีที่ร่างกายสร้างโดยธรรมชาติ จะช่วยต่อสู้กับโรคติดเชื้อหลายชนิด) โดยกรดแลคติกช่วยยับยั้งจุลชีพที่ไม่มีประโยชน์ เช่น เชื้อซัลโมเนลา (Salmonella typhidie) อีโคไล (E. coli) และโครินเน่แบคทีเรีย (Corynebarteria diphtheriae) ทำให้เชื้อเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายได้ ซึ่งโยเกิร์ตมีฤทธิ์แรงพอกับยาสังเคราะห์ในท้องตลาดปัจจุบันคือ ลาวีโซล (Lavaesole)
- แลคโตบาซิลัสในโยเกิร์ต สามารถจับกับสารก่อมะเร็ง สามารถจับโลหะหนัก และกรดน้ำดีที่มีพิษ แลคโตบาซิลัสช่วยยับยั้งกลุ่มแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างสารไนเตรทได้ (สารไนเตรทเป็นสารก่อมะเร็งตัวหนึ่ง) และแลคโตบาซิลัสยังช่วยเปลี่ยนสารฟลาโวนอยด์จากพืชให้เป็นสารต้านมะเร็งได้
- อาหารที่มีเบต้าแคโรตีน เช่น ผักโขม แครอท ฟักทอง ที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีน จะมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
- วิตามินซี ช่วยป้องกันเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่ดักจับเชื้อแบคทีเรีย พบมากในผักและผลไม้หลายชนิด เช่น ผลไม้ประเภทส้ม สตรอเบอร์รี่ มะละกอ แคนตาลูป มะม่วง บล็อกโคลี่ พริกหวาน ผักกาด มะเขือเทศ มะนาว ฝรั่ง มะขาม
- วิตามินอี ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และเพิ่มการสร้างแอนติบอดี้ พบมากใน น้ำมันพืชประเภทน้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันรำข้าว งา ถั่วเปลือกแข็ง เมล็ดพืชต่างๆ ข้าวกล้อง จมูกข้าวสาลี น้ำมันถั่วเหลือง ผักใบเขียว
- อาหารจำพวกเห็ด เช่น เห็ดชิตาเกะ ที่มีส่วนประกอบของสาร lentinan ซึ่งมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และต้านไวรัส
- รวมทั้งรับประทานอาหารเสริมที่มีผลต่อการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เช่น อาหารเสริมสาหร่ายสไปรูลินา เพื่อกระตุ้นการสร้างสารภูมิคุ้มกันและสาร Cytokines เพิ่มจำนวน NK Cell และ กระตุ้นการทำงานของ T cells และB cells
3. จำกัดอาหารจำพวกไขมัน ไขมันที่มากเกินพอจะกดการทำงานของ NK cell ไม่ว่าจะเป็นไขมันสัตว์ หรือน้ำมันพืชชนิด omega-6 เช่น น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคำฝอย จะมีผลยับยั้งการสร้าง lymphocyte ทำให้การตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันลดลง เนื่องจากไขมันชนิด omega-6 จะถูกทำลาย (oxidized) ได้ง่าย เกิดเป็นอนุมูลอิสระที่ทำลายภูมิคุ้มกันของร่างกาย ในขณะที่ไขมันชนิด omega-3 เช่น fish oil, olive oil จะมีผลกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
4. ออกกำลังกาย การออกกำลังกายจะทำให้ระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น มีการแตกแขนงของหลอดเลือดในเนื้อเยื่อต่างๆ มากขึ้น ทำให้เม็ดเลือดขาวหรือภูมิคุ้มกันเข้าสู่ในเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ง่าย เมื่อมีเชื้อโรคเข้ามาก็เข้าไปจัดการได้อย่างรวดเร็ว
5. เข้าสู่การเพิ่มภูมิคุ้มกัน ด้วยวิธีภูมิคุ้มกันบำบัด เพื่อกระตุ้นการทำงานของ NK Cell ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น