เมื่อพูดถึงการผ่าตัดกล่องเสียง กว่า 90% จะนึกถึงการเปลี่ยนเสียงทุ้มๆใหญ่ๆ ของสาวประเภทสองให้อ่อนหวานเหมือนผู้หญิง นั่งเป็นเพราะเป็นกลุ่มคนที่นิยมผ่าตัดกล่องเสียงมากกว่าคนกลุ่มอื่น แต่นอกเหนือจากนี้ ยังมีกลุ่มคนที่มีปัญหาทางกล่องเสียงสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ด้วยเช่นกัน อาทิเช่นหญิงที่อยากมีเสียงทุ้มเหมือนผู้ชาย คนที่มีเสียงแหบห้าว รวามทั้งการเปลี่ยนแปลงของเสียงในวัยสูงอายุด้วย
การผ่าตัดกล่องเสียงช่วยให้เปลี่ยนเสียงได้จริงหรือไม่
สำหรับการผ่าตัดกล่องเสียง ก็คือการผ่าตัดเพื่อ “เปลี่ยนรูปร่างสรีระของกล่องเสียง” จากใหญ่ให้กลายเป็นเล็ก จากเล็กก็ทำให้ใหญ่ขึ้น เพราะรูปร่างของกล่องเสียงของคนเรานั้นมีความต่างกัน โดยเฉพาะเพศหญิงและชาย เปรียบให้เห็นภาพง่ายๆ เทียบกับสรีระภายนอก ผู้ชายมีโครงสร้างที่สูงใหญ่กว่า มีกล้ามเนื้อบึกบึนหนากว่าอย่างไร อวัยวะภายในก็ย่อมมีความใหญ่ผู้หญิงกว่าด้วยเช่นกัน
สาเหตุที่ทำให้เสียงแหบ
กรณีของ “เสียงแหบ” คืออาการที่กล่องเสียงมีความผิดปกติ บางครั้งเกิดขึ้นแบบชั่วครั้งชั่วคราว เช่นไม่สบาย ใช้เสียงมากเกินไป ตะเบ็ง ตะโกน ก็มีส่วนทำให้กล่องเสียงบวมได้ในทางการแพทย์ก็คืออาการอักเสบซึ่งอาจเกิดที่กล่องเสียงโดยตรง หรือเกิดบริเวณลำคอแล้วกล่องเสียงพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย กรณีเหล่านี้เพียงใช้ระยะเวลาพักไม่นานก็สามารถกลับมาเป็นปกติได้
แต่สำหรับบางคนมีเสียงแหบตลอด เพราะมีอาการผิดปกติของกล่องเสียง เช่น เส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงเป็นอัมพาตกล่องเสียงทำงานผิดปกติทำให้เสียงแหบตั้งแต่เกิด มีก้อนเนื้องอกที่สายเสียงหรือแม้แต่การเป็นมะเร็งที่กล่องเสียงก็ทำให้เสียงแหบได้ สำหรับบางเคสสามารถแก้ไขโดยการผ่าตัดกล่องเสียงได้แต่ต้องทำการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน
สาเหตุที่ทำให้เสียงของผู้สูงอายุเปลี่ยนไป
เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น จะสังเกตได้ว่าเสียงจะมีความสั่นมากขึ้น สวนทางกับความชัดเจนที่มีแต่ลดลง ยิ่งอายุมากขึ้นเท่าไหร่ยิ่งเห็นความแตกต่างมากขึ้น สาเหตุที่เสียงของคนเราเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้นนั้น อาจเกิดได้จาก กล้ามเนื้อและเยื่อเกี่ยวพันของกล่องเสียงและหลอดลมมีความหย่อนยานการเปลี่ยนแปลงของปอด หลอดลม รวมทั้งตำแหน่งของกล่องเสียงที่เคลื่อนตัวต่ำลง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงของเคมี รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทส่วนกลาง
การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยดังกล่าวมีความสำคัญต่อเสียงเป็นอย่างมากถึงแม้แต่ละคนจะมีปัจจัยที่แตกต่างกัน เช่นบางคนเป็นเพราะกล้ามเนื้อสายเสียงหย่อนลงทำให้เสียงดูแหบเหนื่อยหอบ หรือสั่นเครือ ทำให้ความก้องกังวานความหนักแน่นของน้ำเสียงหายไปจึงทำให้หลายคนอยากผ่าตัดกล่องเสียงนั่นเอง
สำหรับผู้ทีมีเสียบแหบ หรือผู้สูงอายุจะผ่าตัดกล่องเสียงได้หรือไม่
สำหรับผู้ที่มีเสียงแหบที่อยากผ่าตัดกล่องเสียงผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างละเอียดเพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุที่แท้จริง และหาทางแก้ไขที่เหมาะสมที่สุดมีขั้นตอนคร่าวๆดังนี้
- พบแพทย์เพื่อทำการส่องกล้องตรวจกล่องเสียง ดูโครงสร้างรูปร่างของสายเสียงความถี่ การสั่นของกล่องเสียง
- ตรวจหาสาเหตุที่ทำให้เสียบแหบ ซึ่งอาจเกิดได้จากกล้ามเนื้อกล่องเสียงเป็นอัมพาต หรือเกิดจากมีก้อนเนื้องอก หากพบเนื้องอกต้องตรวจต่อไปว่าเป็นก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็งหรือไม่
- โดยกรณีใดจะสามารถผ่าตัดกล่องเสียงได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ จากนั้นจึงจะงางแผนการผ่าตัดในลำดับต่อไป
ส่วนการผ่าตัดกล่องเสียงสำหรับผู้สูงอายุนั้นต้องวิเคราะห์เป็นกรณีไป กรณีใดจะสามารถผ่าตัดกล่องเสียงได้หรือไม่นั้นต้องผ่านการตรวจร่างกายและปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด และต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์เช่นเดียวกัน
- ผู้สูงอายุที่จะสามารถผ่าตัดกล่องเสียงได้ ต้องเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโรคใดๆ เช่น ถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือมะเร็งกล่องเสียง
- ต้องมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ผ่านการวินิจฉัยการทำงานของปอด หัวใจ อวัยวะ และอายุร่วมด้วย เพราะปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของกล่องเสียง
- ต้องตรวจหาความผิดปกติของเสียงพูดที่เกิดจากโรคเช่น เสียงสั่นจากโรคพาร์กินสันหรือไม่
หลักการผ่าตัดกล่องเสียงเพื่อแก้ปัญหาสำหรับผู้ที่เสียงแหบหรือเสียงดูมีอายุ
อย่างที่เราได้ย้ำกันมาก่อนหน้านี้ว่าการผ่าตัดของแต่ละบุคคลนั้นต้องเป็นไปตามดุลพินิจของแพทย์ ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการรักษาก็คือ การผ่าตัดเปลี่ยนเปลงสรีระของกล่องเสียงและเส้นเสียงของผู้ป่วยให้มีความเหมาะสม
- สำหรับผู้ที่มีเสียงแหบจะต้องทำให้กล่องเสียงหรือเส้นเสียงมีความเล็ก เรียว บางลง ก็จะทำให้เสียงใสขึ้น มีโทนเสียงที่สูงขึ้น นุ่มนวลขึ้น
- ส่วนผู้สูงอายุ จะเน้นการกระชับสรีระกล่องเสียง เส้นเสียง จากที่มีความหย่อนคล้อย ให้กลายเป็นกระชับมากขึ้น ก็จะทำให้เสียงดูมีความหนักแน่นราวกับได้ย้อนวัยอีกครั้ง
สำหรับระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดประมาณ 2 – 3 ชั่วโมง อาจมีการพักค้างคืนที่โรงพยาบาลแต่ก็เพียง 1-2 คืนเท่านั้นก็สามารถกลับไปพักรักษาตัวต่อได้ สิ่งสำคัญคือ 1 สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัดควรงดการใช้เสียงอย่างเด็ดขาด งดการดูดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเด็ดขาด และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด