มาดูสาเหตุที่ทำให้เสียงแหบในคนสูงอายุ
เมื่อเริ่มมีอายุมากขึ้น สิ่งที่คนส่วนใหญ่เป็นกังวลเป็นอย่างมาก คือ รอยตีนกา ริ้วรอยต่างๆ บนใบหน้า หรือกังวลกับเส้นผมที่หงอกขาว จึงต้องหมั่นคอยเอาใจใส่เรื่องผิวพรรณ เส้นผมเป็นพิเศษ เพื่อให้แลดูยังคงอ่อนเยาว์ แต่เรามักจะหลงลืมสิ่งที่บ่งบอกถึงความแก่ชราของเราไปอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือ “น้ำเสียง”
ในคนชรายิ่งมีอายุมากขึ้น เสียงที่เปล่งออกมาจะยิ่งมีความแหบ พร่า และไม่มีแรง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเสียงแหบ เนื่องจากสรีระของผู้สูงอายุที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ผิวพรรณที่เหี่ยวย่นไม่สดใสเต่งตึงเหมือนเมื่อครั้งยังหนุ่มสาว สายเสียงก็เช่นเดียวกัน เมื่ออายุมาขึ้นสายเสียงจะเริ่มแห้ง เหี่ยว โก่ง มองเห็นเส้นเลือดขึ้นมาอย่างชัดเจน
การเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนในผู้สูงอายุ จะมีผลต่อเสียงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เสียงจะห้าวขึ้น ส่วนทางด้านปอดนั้น ความจุหายใจจะลดลงและมีปริมาตรอากาศคงค้างในปอดอยู่เพิ่มขึ้น คนสูงอายุจะหายใจเร็วขึ้น อัตราส่วนของเวลาระหว่างการหายใจเข้า ต่อการหายใจออก จากเดิม 1 ต่อ 1 ถึง 1.5 ก็จะเปลี่ยนไปด้วย
จากการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเหล่านี้ ทำให้ขอบสายเสียงหย่อนลง บางรายจะมีการอ่อนแรงของสายเสียงด้วยก็ได้ สายเสียงอาจจะหย่อนไปบางส่วน โดยเฉพาะบริเวณ 1 ใน 3 ของส่วนท้ายของสายเสียง เนื่องมาจากการทำงานของกล้ามเนื้อสายเสียงหย่อนลง เสียงพูดจึงแหบพร่า แบบเสียงเหนื่อยหอบ บางทีเสียงก็จะสั่นแบบอ่อนแรง ระดับเสียงจะต่ำลง จะเปลี่ยนระดับเสียงพูดให้สูงขึ้นหรือต่ำลงไม่ได้มาก ความก้องกังวานในกล่องเสียงและช่องคอเปลี่ยนไป ทำให้ความหนักแน่นของน้ำเสียงความกังวานของเสียงและความยาวของประโยคคำพูดลดลง
นอกจากนี้ การที่ผู้สูงอายุหายใจเร็วขึ้น จึงทำให้ผู้สูงอายุพูดได้เสียงสั้นๆ และค่อย อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีของกล่องเสียงของผู้สูงอายุแต่ละคนมีเกณฑ์ปกติของการเปลี่ยนแปลงต่างกันไปได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาเสียงของแต่ละบุคคล
เสียงแหบในคนสูงอายุ แก้ไขเสียงให้ใสได้หรือไม่
อาการเสียงแหบซึ่งเกิดจากสายเสียงที่ฝ่อ ไม่เต่งตึง และหย่อนยานตามสภาพของร่างกาย สายเสียงทั้งสองข้างจึงมาสบกันไม่สนิทลมจึงรั่ว ทำให้เสียงพร่า แหบแห้ง ไม่มีพลัง ซึ่งสามารถทำการรักษาได้โดยการฉีดสารเข้าไปที่สายเสียง ให้สายเสียงตึงและสบกันดีขึ้น เสียงก็จะดีขึ้น โดยสารที่ใช้ฉีดนั้นมีหลายชนิด ทั้งไขมัน สารเติมเต็ม รวมถึงการฉีดสเต็มเซลล์
หรือสามารถแก้ไขทำให้เส้นเสียงนั้นกลับเต่งตึงขึ้นมาอีกครั้ง เรียกว่า ศัลยกรรมเปลี่ยนเสียงสำหรับผู้สูงอายุที่มีเสียงแหบ ที่ยศการ คลินิก โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเทคโนโลยีมาตราฐานระดับสากล
แก้เสียงแหบ แก้เสียงคนแก่ให้ใส “Voice Surgery for Aging Voice” ที่ยศการ คลินิก
เสียงแหบในผู้สูงอายุ ปัญหาใหญ่ที่แก้ไขได้ แค่เพียงเรารู้สาเหตุที่แน่ชัด หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับเสียง ลองเข้ามารับคำปรึกษาได้ที่ยศการ คลินิก ซึ่งให้บริการศัลยกรรมเปลี่ยนเสียงสำหรับผู้สูงอายุที่มีเสียงแหบ “Voice Surgery for Hoarseness” ด้วยเทคโนโลยีมาตราฐานระดับสากล
มั่นใจในมาตรฐานบริการ ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี
ยศการ คลินิก เป็นที่รู้จักและอยู่ในระดับแถวหน้าของแวดวงความงามเมืองไทย ด้วยการบริการที่มีหลากหลาย ทั้งด้านศัลยกรรม ผิวพรรณ สัดส่วน เลเซอร์ และเวชศาสตร์ชะลอวัย ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนานกว่า 30 ปี
ยศการ คลินิก ยึดถือมาตรฐานการดูแลรักษา และการบริการ เทียบเท่าระดับสากล นำโดย ศ.นพ.สมยศ คุณจักร นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย และทีมงานผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ พร้อมด้วยอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย โดยมุ่งมั่นที่จะพัฒนา อย่างต่อเนื่อง เพื่อบริการที่ดี เน้นการดูแลรักษาที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน และเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด ซึ่งจะสอดคล้องกับผลการให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย ที่สำคัญดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสูง ด้วยปรัชญาของ ยศการคลินิก ที่มอบการบริการที่เป็นเลิศเพื่อความพอใจสูงสุดของลูกค้า คือ สิ่งที่ทำให้ ยศการคลินิก เป็นอันดับ 1 ของศูนย์ศัลยกรรม ผิวพรรณ สัดส่วน เลเซอร์ และอายุรเวชเพื่อความงามของเมืองไทย มาจนถึงทุกวันนี้
ปัจจุบัน ยศการ คลินิก มี 3 สาขา ในใจกลางกรุงเทพ ฯ และบริเวณปริมณฑลได้แก่ สาขาราชดำริ, ชั้น 3 เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน และ ชั้น 2 เดอะมอลล์ บางแค ซึ่งทุกสาขามีเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่พร้อมในการให้บริการ รวมทั้งเครื่องเลเซอร์ที่ทันสมัย ได้มาตรฐาน และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
ยศการ คลินิก บริการห้องพักฟื้นหรู สะดวก เป็นส่วนตัว ที่โรงแรม Aphrodite Inn
สำหรับผู้เข้ารับบริการที่ต้องอยู่พักฟื้นและติดตามผลการรักษาเป็นระยะเวลาหลายวัน ยศการ คลินิก ให้บริการห้องพักสุดหรู พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน ที่โรงแรม Aphrodite Inn ซึ่งมีประตูทางเชื่อมติดกับคลินิก คนไข้สามารถพักผ่อนได้อย่างเต็มที่หลังการรักษา พร้อมกันนี้ ทางแพทย์และพยาบาลสามารถไปเยี่ยมคุณในห้องเพื่อติดตามผล และให้การดูแลได้อย่างใกล้ชิด
ซึ่งไม่เพียงแต่ลูกค้าของยศการ คลินิกเท่านั้น สำหรับบุคคลทั่วไป ก็สามารถเข้ามาพักและใช้บริการที่โรงแรมแห่งนี้ได้ โรงแรม Aphrodite Inn ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แวดล้อมด้วยห้างสรรพสินค้า แหล่งช้อปปิ้งชั้นนำ และร้านอาหารที่มีให้เลือกอย่างมากมาย พร้อมการเดินทางสะดวกสบายเพราะอยู่ใกล้รถไฟฟ้า BTS
ข้อดีของการแก้เสียงแหบ แก้เสียงคนแก่ให้ใส
เมื่อเสียงกลับมาใสเหมือนหนุ่มสาวอีกครั้ง จะช่วยสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้สูงอายุเมื่อต้องเข้าสังคม พบปะพูดคุยกับผู้อื่น และช่วยให้รู้สึกมีความสุขกับการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้น
เคล็ดลับการรักษาเสียงให้ยังใสปิ๊ง
- ดื่มน้ำให้มากขึ้น กล่องเสียงต้องการความชื้นเพื่อการหล่อลื่น ซึ่งจะทำให้มีการสั่นได้ดี น้ำไม่ได้สัมผัสกับเส้นเสียงโดยตรง เส้นเสียงได้รับการหล่อลื่นจากของเหลวคล้ายน้ำลาย ซึ่งผลิตจากต่อมในบริเวณนั้น ดังนั้น เราจึงควรดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร โดยจิบน้ำทุก ๆ 15 นาที
- หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด กรดที่ไหลย้อนกลับจะส่งผลต่อเสียงได้ เพราะทำให้คอแห้งและเกิดการระคายเคือง เส้นประสาทในลำคอก็ทำปฏิกิริยากับกรดด้วย โดยทำให้น้ำลายเหนียว ส่งผลให้เส้นเสียงสั่นได้ยากขึ้น อาการที่บ่งบอกถึงภาวะกรดไหลย้อนกลับ คือ กระแอมกระไอ เสียงอู้อี้ในตอนเช้า และความรู้สึกเหมือนว่ามีก้อนอะไรอยู่ในลำคอ วิธีการป้องกัน คือ ให้หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำความระคายเคืองแก่กระเพาะ เช่น หัวหอมใหญ่ พริก น้ำอัดลม และช็อกโกแลต รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะมีเวลาย่อย
- พูดคุยอย่างสม่ำเสมอ การเข้าสังคมและพูดคุยใช้เสียงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้สูงอายุมักไม่ค่อยออกไปไหน ทำให้ไม่ได้พบเจอผู้คนและไม่ได้พูดจา ดังนั้น เพื่อรักษาเสียงให้ยังใส ผู้สูงอายุควรพบปะผู้คนให้มากขึ้น เช่น เข้าเป็นสมาชิกชมรม ทำกิจกรรมที่ตัวเองสนใจ เมื่อได้พูดคุยก็สามารถชะลอความชราได้
- ร้องเพลงเวลาอาบน้ำ เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการรักษาน้ำเสียง เพราะช่วยให้กล่องเสียงแข็งแรง มีการหล่อลื่นที่กล่องเสียง การร้องเพลงเปรียบเหมือนการเล่นยิมนาสติกของเสียง
- อย่าตะโกน การตะโกนอาจทำให้เส้นเสียงอักเสบได้ ทำให้เส้นเสียงไม่ปิดอย่างที่ควรเป็น ถ้าเส้นเสียงกระทบกันอยู่เรื่อยๆ ก็จะทำให้เกิดก้อน ซึ่งทำให้กล่องเสียงทำงานยากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า คนที่ทำงานในผับ ร้านอาหารหรือโรงงานที่มีเสียงดัง หรือตะโกนเชียร์ฟุตบอล มีความเสี่ยงในเรื่องนี้ วิธีการแก้ไข คือ แนะนำให้คนที่ต้องตะโกนเวลาทำงานพักการใช้เสียงเป็นเวลา 5 นาทีในทุกๆ ชั่วโมง
- รักษาสุขภาพฟัน เมื่อฟันฟางหลุดร่วง กระดูกกรามจะสึกกร่อน รูปหน้าจะเริ่มยุบเข้าด้านใน กล้ามเนื้อจึงไม่สามารถเปล่งเสียงพูดได้อย่างที่เคย ลิ้นก็จะขยับขึ้นด้านบนและแลบมาทางด้านหน้า เวลาพูดจึงมีเสียงคล้ายตัว “ท” ทำให้กลายเป็นคนพูดไม่ชัดเจน
- จัดท่าทางให้ดี ท่านั่งท่ายืนมีผลต่อการออกเสียงให้ฟังดูอ่อนเยาว์ ท่าตัวงอคุดคู้ทำให้เส้นเสียงผิดรูป หายใจไม่ได้ลึก เส้นเสียงเปล่งเสียงได้ยากขึ้น การยืนตัวตรงจะช่วยให้เปล่งเสียงได้ดี การออกกำลังกายประเภทสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ช่วยให้หายใจได้ลึกขึ้น ทำให้มีอากาศผ่านกล่องเสียงมากขึ้น จึงเปล่งถ้อยคำได้ชัดขึ้น
- เลิกสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้กล่องเสียงแห้ง เส้นเสียงหยุดทำงาน นิโคตินยังทำให้ภาวะกรดไหลย้อนมีอาการมากขึ้น ความร้อนจากควันบุหรี่ยังไปรมเส้นเสียงด้วย ทำให้เสียงแหบ นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ยังทำให้เยื่อบุลำคอเกิดการอักเสบได้ด้วย
- พักเสียงเสียบ้าง ถ้าใช้เสียงในช่วงที่มีอาการไออย่างหนัก เส้นเสียงจะเกิดเป็นแผล ถ้ากล่องเสียงอักเสบเพราะเป็นหวัด ควรพักการใช้เสียงสัก 1-2 วัน หากเกิดแผล เส้นเสียงก็จะไม่สั่นอย่างที่ควร เสียงจะฟังแหบห้าว ถ้าเสียงแหบเกิน 2 สัปดาห์ก็ควรไปพบแพทย์
- ควรฝึกนิสัยการหายใจที่ถูกต้องขณะพูด โดยใช้กล้ามเนื้อท้องเป็นหลักในการหายใจ ขณะหายใจเข้า หน้าท้องควรจะค่อยๆ ป่องออก ขณะหายใจออกหน้าท้องควรยุบเข้า ไม่พูดขณะหายใจเข้า หรือกลั้นหายใจพูด ควรพูดขณะหายใจออก และผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน และควรหายใจเข้าและออกทางปากขณะพูด
เกร็ดความรู้เสริม
เสียงแหบแห้งผิดปกติ สัญญาณอันตราย
เสียงแหบ หมายถึง เสียงพูด หรือเสียงร้องที่ผิดไปจากภาวะปกติของผู้ป่วย หรือผิดไปจากเสียงของคนปกติ เป็นอาการที่แสดงว่า มีความผิดปกติเกิดขึ้นกับตัวกล่องเสียงเอง หรืออาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง ลองมาดูสาเหตุที่ทำให้เสียงแหบ
1. มีความผิดปกติที่ตัวกล่องเสียงเอง
- มีการบวมของสายเสียง อาจเป็นจากการอักเสบ มักพบร่วมกับการเป็นหวัดหรือเนื่องจากการใช้เสียงที่ผิดวิธี เช่น ตะเบ็ง ตะโกน ทำให้สายเสียงบวมได้
- มีก้อนเนื้องอกที่สายเสียง เป็นได้ทั้งเนื้องอกธรรมดาและเนื้องอกมะเร็ง
2. มีความผิดปกติเกี่ยวกับการทำงานของกล่องเสียง เช่น อัมพาตของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง ก็จะทำให้มีเสียงแหบได้ เช่น พบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณคอหรือผู้ป่วยหลังได้รับการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์
3. เสียงแหบที่เกิดจากการเจ็บป่วย
- การอักเสบและบวมของกล่องเสียง ถ้าเป็นการอักเสบเฉียบพลัน มักพบร่วมกับการเป็นหวัด อาจจะมีอาการน้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ นำมาก่อนเสียงแหบ หรือเป็นจากการใช้เสียงมาก ตะโกน ตะเบ็ง มาก่อนเสียงแหบ ถ้าเป็นการอักเสบเรื้อรัง มักเป็นจากการใช้เสียงมาก หรือออกเสียงไม่ถูกวิธี การระคายเคืองจากควันบุหรี่ จากสิ่งแวดล้อมเป็นพา หรือมลภาวะ บางครั้งกล่องเสียงได้รับการระคายเคืองจากควันบุหรี่ จากสิ่งแวดล้อมเป็นพิษและมลภาวะทำให้ต้องกระแอมบ่อยๆสำหรับการใช้เสียงมาก ระดับสายเสียงบวมแดง ถ้าเป็นนานอาจมีติ่งเนื้อที่สายเสียงได้ รักษาโดยพักการใช้เสียงหรือฝึกออกเสียงให้ถูกวิธีอาการเสียงแหบจะดีขึ้นได้ แต่ถ้าเสียงแหบนาน ก็ควรจะมาพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาทางยา อาจร่วมกับการผ่าตัดเอาติ่งเนื้อที่บวมออก และฝึกการออกเสียงที่ถูกวิธีจะเป็นการป้องกันไม่ให้เป็นอีก
- มะเร็งกล่องเสียง พบในผู้ป่วยอายุ 50-70 ปี พบในชายมากกว่าหญิงถึง 7 ต่อ 1 การสูบบุหรี่เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเป็นมะเร็งกล่องเสียง ผู้ป่วยเหล่านี้จะมีอาการเสียงแหบเป็นอาการนำ และจะแหบมากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะเวลาที่ผ่านไป ถ้าเป็นมาก จะมีอาการปวด หายใจลำบาก กลืนลำบาก ตามมาได้ โรคนี้ไม่หายเอง เพราะฉะนั้นถ้ามีอาการเสียงแหบที่เป็นมากขึ้นและไม่หายเองใน 3-4 สัปดาห์ ร่วมกับการสูบบุหรี่ก็ควรจะมาพบแพทย์เพื่อตรวจกล่องเสียง การรักษาต้องผ่าตัดเอากล่องเสียงออก
- อัมพาตของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงก็จะมีอาการเสียงแหบ สาเหตุจริงๆ ไม่แน่นอน เชื่อว่ามีการติดเชื้อไวรัสในเส้นประสาทนี้ นอกจากนี้ ยังพบได้ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์ เนื่องจากเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงจะอยู่ด้านข้างของต่อมธัยรอยด์ ฉะนั้นในการผ่าตัดต่อมธัยรอยด์จึงอาจมีการบาดเจ็บหรือดึงรั้งต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียงในขณะผ่าตัดได้
ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเสียงแหบจากอัมพาตของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล่องเสียง ถ้าเป็นชั่วคราวเสียงแหบอาจจะหายเองได้ จากการที่เส้นประสาทกลับมาทำงานเหมือนเดิม หรือมีการทำงานชดเชยจากสายเสียงอีกข้างหนึ่ง แต่ถ้าเป็นเส้นประสาทอัมพาตถาวร อาจจะมีเสียงแหบตลอด
เมื่อไรควรจะไปพบแพทย์
ควรจะไปพบแพทย์เมื่อมีเสียงแหบที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ นานเกิน 3 สัปดาห์ เพื่อตรวจให้แน่ชัดว่ามีก้อนเนื้องอกหรือไม่